ข่าว ประชาสัมพันธ์
การจัดการความรู้ปีงบ 2567

ดาวน์โหลด 1.การจัดการความรู้ วิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ดาวน์โหลด 2.การจัดการความรู้ด้านการวิจัยสู่การพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดี ดาวน์โห...
ประกาศรับสมัครและคัดเลือกหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล รอบที่ 3 ปีการศึกษา 2568...

ประกาศรับสมัครและคัดเลือกหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล รอบที่ 3 ปีการศึกษา 2568 ดาวน์โหลด เอกสารเกี่ยวกับประกาศ 1.ดาวน์โหลด ประกาศรับสมัคร 2.ดาวน์โหลด ภา...
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ ระดับปริญญาตรี รอบที่ 2 Quata (เพิ่มเติม) เฉพาะโครงการ 9 หมอ ปีการศ...

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ ระดับปริญญาตรี รอบที่ 2 Quata (เพิ่มเติม) เฉพาะโครงการ 9 หมอ ปีการศึกษา 2568 1.ดาวน์โหลด หน้าประกาศ 2.ดาวน์โหลด ร...
รายงานงบทดลอง กุมภาพันธ์ 2568

รายงานงบทดลอง กุมภาพันธ์ 2568 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ดาวน์โหลด...
ประกาศรับนักศึกษาปีการศึกษา2568 รอบ 3 Admission...

ประกาศรับนักศึกษาปีการศึกษา2568 รอบ 3 Admission ดาวน์โหลด เอกสารเกี่ยวกับประกาศ 1.ดาวน์โหลด ประกาศรับสมัคร 2.ดาวน์โหลด ภาคผนวก 1 จำนวนการรับนักศึ...
ประกาศ รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก ระดับปริญญาตรี รอบที่ 2 Quota ปีการศึกษา 2568...

ประกาศ รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก ระดับปริญญาตรี รอบที่ 2 Quota ปีการศึกษา 2568 1.ดาวน์โหลด หน้าประกาศ 2.ดาวน์โหลด รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก โครงกา...
ข่าว กิจกรรม
ประกาศ/คำสั่ง
ประกวดราคา
รับสมัครงาน
เกี่ยวกับนักศึกษา
ประกาศรับสมัครรอบ 3 Admission...
คู่มือนักศึกษา สบช.ปี พศ.2564...
ปฏิทินการชำระค่าเทอมของสบช....
มาตรการ การดำเนินการสภาพองค์ประกอบการควบคุมภายใน ด้านความซื่อสัตย์ จริยธรรม ทุจริต ประพฤติมิชอบ
ประกาศ แนวปฏิบัติในการได้มาซึ่งวัสดุ ครุภัณฑ์ทุกประเภทของแต่ละฝ่าย
กล่องแสดงความเห็น ข้อเสนอแนะด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา
สถานศึกษาปลอดภัย
ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
การ จัดการความรู้KMวิทยาลัย
แนวปฏิบัติ KM ปีงบประมาณ 2563
ระบบและกลไกการจัดการความรู้ 58
แผนจัดการความรู้ปี 2558
งานคุณธรรม และองค์กรณ์แห่งความสุข
ขอเชิญร่วมรณรงค์ การลดปริมาณขยะ
ประชาสัมพันธ์ แหล่งงานและอาชีพสำหรับนักศึกษาและทุนสนับสนุนการศึกษา
ข่าว กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.)
ข่าว งานพัฒนาบุคลากร
ประมวลจริยธรรมข้าราชการ...
ข่าว การเงิน
วีดีโอแนะนำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา (Thai) |
วีดีโอแนะนำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา (English) |
|
|
1. คุณสมบัติผู้สมัคร
- รายละเอียด
- ฮิต: 26818
1. คุณสมบัติผู้สมัคร
1.1. ประเภทโควตาบุคคลทั่วไป – โควตาจังหวัดเชียงรายจำนวน 56 คนและโควตาจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 62 คน
1.2. ประเภทโควตาสถาบันพระบรมราชชนก – โควตาจังหวัดพะเยา จำนวน 2 คน
1.3. คุณสมบัติทั่วไป
1.3.1. เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดที่มีโควตาให้เข้าศึกษา ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดที่มีโควตาให้เข้าศึกษา ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันเปิดภาคการศึกษา
1.3.2. เป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันเปิดภาคการศึกษา
1.3.3. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ต้องมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
1.3.4. เป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ไม่มีความพิการ หรือผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพ
1.3.5. เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เคยมีชื่อเสียงเสียหาย ไม่เคยถูกลงโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
1.3.6. ถ้าเป็นชายต้องไม่เป็นผู้ถูกคัดเลือกเข้ารับราชการทหารในเดือนเมษายน 2561 และไม่เป็นภิกษุสามเณร ตามคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่อง ห้ามภิกษุ สามเณร เรียนวิชาชีพ หรือสอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือกอย่างคฤหัสถ์ พ.ศ. 2538
1.4. คุณสมบัติทางการศึกษา
1.4.1. เป็นผู้กำลังศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่เน้นโปรแกรมคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
1.4.1.1.1. หลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
1.5. คุณสมบัติด้านสุขภาพผู้มีสิทธิเข้าศึกษา จะต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ และไม่เป็นโรคประจำตัวซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ดังนี้
1.5.1. โรคหัวใจที่มีพยาธิสภาพที่หัวใจ ทั้งชนิดเป็นมาแต่กำเนิดและมาเป็นภายหลัง จนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
1.5.2. มีความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 1.5.2.1. ตาบอดแม้แต่ข้างเดียว
1.5.2.2. ตาบอดสี โดยเฉพาะแม่สีหรือตาบอดสีชนิดรุนแรง ซึ่งได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
1.5.2.3. ระดับการมองเห็นในตาข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อรักษาโดยใช้แว่นแล้ว ยังมีสายตาต่ำกว่า 6/12 หรือ 20/40
1.5.2.4. ตาพิการ หรือมีความผิดปกติ เช่น ตาเหล่
1.5.3. หูหนวก ชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือหูตึงที่ใช้เครื่องช่วยฟัง (Hearing aid) แล้วการได้ยินไม่ปกติ แม้แต่ข้างเดียว หรือโรคหูอื่นๆ ซึ่งแพทย์เฉพาะทางและคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
1.5.4. วัณโรคปอดในระยะติดต่อเรื้อรัง หรือโรคติดต่อในระยะอันตรายที่จะมีผลต่อผู้รับบริการ หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
1.5.5. โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตรวจร่างกายเห็นว่ามีแนวโน้มเกิดอันตรายจากความเครียดระหว่างศึกษา
1.5.6. โรคไตที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
1.5.7. โรคเบาหวานทุกระดับ
1.5.8. มีความผิดปกติทางจิตซึ่งควรได้รับการบำบัดรักษา หรือมีสุขภาพจิตไม่สมบูรณ์ ซึ่งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
1.5.9. เสพสารเสพติดทุกชนิด และโรคพิษสุราเรื้อรัง
1.5.10. โรคคนเผือก ที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการปฏิบัติงาน เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่ร่างกายอ่อนแอและติดเชื้อได้ง่าย
1.5.11. โรคและอาการอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานทางการพยาบาลและสาธารณสุข โดยพิจารณาเป็นรายหลักสูตร เช่น
1.5.11.1. ร่างกายต้องไม่ผิดรูป หรือพิการจนเสียบุคลิกลักษณะ เช่น ศีรษะและส่วนประกอบของใบหน้าผิดรูป แขน ขา มือ หรือเท้าผิดรูป ซึ่งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตรวจร่างกายเห็นว่าไม่เหมาะสมต่อวิชาชีพและลักษณะงาน
1.5.11.2. กระดูก หรือกล้ามเนื้อบางส่วนมีความพิการที่มีผลกระทบต่อสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น เท้าปุก อัมพาตหรือมีกล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง ทำให้เสียบุคลิกภาพ ซึ่งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตรวจร่างกายเห็นว่าไม่เหมาะสมต่อวิชาชีพและลักษณะงาน
1.5.11.3. โรคเรื้อน หรือโรคผิวหนัง ที่มีความผิดปกติเห็นเด่นชัดจนเสียบุคลิกภาพ
1.5.11.4. โรคเท้าช้าง
1.5.11.5. โรคลมชัก ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อันจะก่อเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เว้นแต่โรคลมชักที่ไม่มีอาการชักมาแล้วอย่างน้อย ๓ ปี โดยมีการรับรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเป็นโรคลมชักที่ควบคุมได้
หมายเหตุ คณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมกพิจารณาผลตรวจร่างกาย ให้ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ในแต่ละสาขาหลักสูตรของกระทรวงสาธารณสุข