1. คุณสมบัติผู้สมัคร

1. คุณสมบัติผู้สมัคร

bcnpy 01

1. คุณสมบัติผู้สมัคร
   1.1. ประเภทโควตาบุคคลทั่วไป – โควตาจังหวัดเชียงรายจำนวน 56 คนและโควตาจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 62 คน
   1.2. ประเภทโควตาสถาบันพระบรมราชชนก – โควตาจังหวัดพะเยา จำนวน 2 คน
   1.3. คุณสมบัติทั่วไป
      1.3.1. เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดที่มีโควตาให้เข้าศึกษา ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดที่มีโควตาให้เข้าศึกษา ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันเปิดภาคการศึกษา
      1.3.2. เป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันเปิดภาคการศึกษา
      1.3.3. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ต้องมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
      1.3.4. เป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ไม่มีความพิการ หรือผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพ
      1.3.5. เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เคยมีชื่อเสียงเสียหาย ไม่เคยถูกลงโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
      1.3.6. ถ้าเป็นชายต้องไม่เป็นผู้ถูกคัดเลือกเข้ารับราชการทหารในเดือนเมษายน 2561 และไม่เป็นภิกษุสามเณร ตามคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่อง ห้ามภิกษุ สามเณร เรียนวิชาชีพ หรือสอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือกอย่างคฤหัสถ์ พ.ศ. 2538
   1.4. คุณสมบัติทางการศึกษา
      1.4.1. เป็นผู้กำลังศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่เน้นโปรแกรมคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
            1.4.1.1.1. หลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
   1.5. คุณสมบัติด้านสุขภาพผู้มีสิทธิเข้าศึกษา จะต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ และไม่เป็นโรคประจำตัวซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ดังนี้
      1.5.1. โรคหัวใจที่มีพยาธิสภาพที่หัวใจ ทั้งชนิดเป็นมาแต่กำเนิดและมาเป็นภายหลัง จนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
      1.5.2. มีความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 1.5.2.1. ตาบอดแม้แต่ข้างเดียว
            1.5.2.2. ตาบอดสี โดยเฉพาะแม่สีหรือตาบอดสีชนิดรุนแรง ซึ่งได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
            1.5.2.3. ระดับการมองเห็นในตาข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อรักษาโดยใช้แว่นแล้ว ยังมีสายตาต่ำกว่า 6/12 หรือ 20/40
            1.5.2.4. ตาพิการ หรือมีความผิดปกติ เช่น ตาเหล่
      1.5.3. หูหนวก ชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือหูตึงที่ใช้เครื่องช่วยฟัง (Hearing aid) แล้วการได้ยินไม่ปกติ แม้แต่ข้างเดียว หรือโรคหูอื่นๆ ซึ่งแพทย์เฉพาะทางและคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
      1.5.4. วัณโรคปอดในระยะติดต่อเรื้อรัง หรือโรคติดต่อในระยะอันตรายที่จะมีผลต่อผู้รับบริการ หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
      1.5.5. โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตรวจร่างกายเห็นว่ามีแนวโน้มเกิดอันตรายจากความเครียดระหว่างศึกษา
      1.5.6. โรคไตที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
      1.5.7. โรคเบาหวานทุกระดับ
      1.5.8. มีความผิดปกติทางจิตซึ่งควรได้รับการบำบัดรักษา หรือมีสุขภาพจิตไม่สมบูรณ์ ซึ่งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
      1.5.9. เสพสารเสพติดทุกชนิด และโรคพิษสุราเรื้อรัง
      1.5.10. โรคคนเผือก ที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการปฏิบัติงาน เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่ร่างกายอ่อนแอและติดเชื้อได้ง่าย
      1.5.11. โรคและอาการอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานทางการพยาบาลและสาธารณสุข โดยพิจารณาเป็นรายหลักสูตร เช่น
            1.5.11.1. ร่างกายต้องไม่ผิดรูป หรือพิการจนเสียบุคลิกลักษณะ เช่น ศีรษะและส่วนประกอบของใบหน้าผิดรูป แขน ขา มือ หรือเท้าผิดรูป ซึ่งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตรวจร่างกายเห็นว่าไม่เหมาะสมต่อวิชาชีพและลักษณะงาน
            1.5.11.2. กระดูก หรือกล้ามเนื้อบางส่วนมีความพิการที่มีผลกระทบต่อสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น เท้าปุก อัมพาตหรือมีกล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง ทำให้เสียบุคลิกภาพ ซึ่งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตรวจร่างกายเห็นว่าไม่เหมาะสมต่อวิชาชีพและลักษณะงาน
            1.5.11.3. โรคเรื้อน หรือโรคผิวหนัง ที่มีความผิดปกติเห็นเด่นชัดจนเสียบุคลิกภาพ
            1.5.11.4. โรคเท้าช้าง
            1.5.11.5. โรคลมชัก ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อันจะก่อเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เว้นแต่โรคลมชักที่ไม่มีอาการชักมาแล้วอย่างน้อย ๓ ปี โดยมีการรับรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเป็นโรคลมชักที่ควบคุมได้
หมายเหตุ คณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมกพิจารณาผลตรวจร่างกาย ให้ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ในแต่ละสาขาหลักสูตรของกระทรวงสาธารณสุข