การประเมินผลแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

bcnpy-head 01

bcnpy-head 02

การประเมินผลแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

 

การประเมินผลแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน

        กลุ่มงานบริการวิชาการได้มี การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการวิชาการและนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงเชื่อมโยงและบูรณาการ ระหว่างการบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่น ๆ ของวิทยาลัยโดยวางแผนดำเนินโครงการ/ แผนงาน/กิจกรรมบริการวิชาการในแผนปฏิบัติการในปี ๒๕๕๓ จำนวนทั้งสิ้น ๒๑ โครงการ ๖ แผนงาน  ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้

                   ๑) สถานที่ในการรับประทานอาหารและสถานที่ในการจอดรถมีไม่เพียงพอเนื่องจากอยู่ระหว่างการก่อสร้างตึกใหม่ ๕ ชั้น

                   ๒) ผู้เข้ารับการอบรมไม่ครบตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากติดภาระงานที่รับผิดชอบ

                   ๓) ผู้เข้าร่วมโครงการน้อยกว่าที่กำหนด  เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ล่าช้า

                   ๔) การประสานงานกับวิทยากรที่มีภารกิจมาก  ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนตารางการอบรมบ่อย

                   ๕) คณะทำงานมีภารกิจงานนิเทศนอกพื้นที่  ทำให้ทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง

                   ๖) มีการประชาสัมพันธ์โครงการช้า  ทำให้กลุ่มเป้าหมาย/ศิษย์เก่าที่อยู่ห่างไกล/ต่างอำเภอได้รับข่าวสารช้า  ส่งผลให้ไม่สามารถเข้ารับการประชุมได้เนื่องจากเกินจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด

                   ๗) ขาดการประสานงานระหว่างผู้จัดทำโครงการ และการแบ่งงานไม่ชัดเจน

                   ๘) ความร่วมมือของผู้รับบริการที่เป็นประชาชนในการตอบแบบประเมินความพึงพอใจในโครงการน้อยกว่าจำนวนเป้าหมายที่วางไว้เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ของผู้ตอบแบบสอบถาม

                   ๙) การบูรณาการการบริการวิชาการกับภารกิจอื่นยังไม่ชัดเจน ขาดข้อความรู้เรื่องวิธีการการออกแบบกิจกรรมการบริการวิชาการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน

                   ๑๐) ผู้เข้ารับการอบรมเสนอแนะว่า  ไม่ควรจัดโครงการบริการวิชาการในวันหยุด ราชการ

                   ๑๑) จำนวนผู้รับผิดชอบโครงการบางโครงการมีมากเกินไปทำให้ต้องขาดการทำภาระกิจอื่นๆของอาจารย์

                   ๑๒) ยังมีอาจารย์บางส่วน(๒ คน)ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการ

                    ๑๓) การวางแผนดำเนินโครงการในแผนปฏิบัติการมีการบูรณาการกับการเรียนการสอน  แต่ในการดำเนินงานจริงไม่ได้มีการบูรณาการ หรือมีการบูรณาการแต่ไม่ปรากฎหลักฐานที่เป็นรูปธรรม

                    ๑๔) การสรุปโครงการบริการวิชาการมีความหลากหลาย ไม่เป็นไปตามแบบฟอร์มที่กำหนด  ทำให้การติดตามประเมินผลโครงการไม่ครอบคลุมตัวบ่งชี้

                    ๑๖) การลงนามสรุปโครงการบริการวาการบางโครงการไม่ผ่านรองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ ทำให้ขาดการตรวจสอบโครงการตามระบบและกลไกงานบริการวิชาการ

                    ๑๗) การติดตามโครงการบริการวิชาการรายไตรมาสไม่ครอบคลุมตัวบ่งชี้  และปรากฏหลักฐานไม่ชัดเจนในการประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย/การประชุมประจำเดือน

 

การนำผลการประเมินไปพิจารณาปรับปรุงในปีการศึกษา  ๒๕๕๔

               ๑. การดำเนินโครงการบริการวิชาการกำหนดให้เป็นโครงการบริการวิชาการที่บูรณาการกับพันธกิจอื่น  เช่น  กับการเรียนการสอนหรือวิจัยเท่านั้น

               ๒. การเขียนโครงการบริการวิชาการที่บูรณาการกับพันธกิจอื่นควรปรากฏชัดเจนในหลักการและเหตุผล  วัตถุประสงค์ และเครื่องมือการประเมินผลภายหลังสิ้นสุดโครงการ

               ๓. การวางแผนจัดทำโครงการบริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอนควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง  เช่น  ผู้ประสานรายวิชา  อาจารย์ในสาขาวิชาเดียวกัน  และผู้ที่เกี่ยวข้อง

               ๔. โครงการบริการวิชาการที่สร้างรายรับต้องมีบูรณาการด้วยเช่นกัน

               ๕. ควรนำผลการประเมินโครงการบริการวิชาการที่ผ่านมา  มาวางแผนพัฒนาปรับปรุงโครงการทั้งในรายโครงการ  และภาพรวมภายในปีการศึกษาเดียวกัน

               ๖. พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือประเมินความพึงพอใจในโครงการของผู้รับบริการให้ครอบคลุมตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้อง

               ๗. อาจารย์ในภาควิชาทุกคนต้องดำเนินโครงการบริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอนหรือการวิจัยอย่างน้อยคนละ  ๑  โครงการ

           ๘. ในแต่ละภาควิชาต้องดำเนินโครงการบริการวิชาการภายหลังจากที่มีการสำรวจความต้องการของชุมชน  หรือภาครัฐ  หรือภาคเอกชน  หรือหน่วยงานวิชาชีพ  เพื่อประกอบทิศทาง  และจัดทำแผนการบริการวิชาการ อย่างน้อยภาควิชาละ ๑ โครงการ