จรรยาบรรณอาจารย์/คุณธรรม จริยธรรมนักศึกษา
- รายละเอียด
- ฮิต: 5178
จรรยาบรรณอาจารย์ |
จรรยาบรรณข้อที่ 1 ครูพึงปฏิบัติตามแนวทางพระราชดำรัสของพระราชบิดาที่ว่า “ ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นกิจที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ” จรรยาบรรณข้อที่ 2 ครูต้องเป็นคนดีตามแนวทางพระราชบัญญัติสมเด็จย่าที่ว่า “ ไม่พูดปด ไม่สอพลอ ไม่อิจฉาริษยา ไม่ขี้โกง และพยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีในขอบเขตศีลธรรม ” จรรยาบรรณข้อที่ 3 เป็นผู้มีความเอื้ออาทร จรรยาบรรณข้อที่ 4 ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ จรรยาบรรณข้อที่ 5 ไม่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อศิษย์ จรรยาบรรณข้อที่ 6 ไม่แสวงหาผลประโยชน์/อามิสสินจ้างจากศิษย์ จรรยาบรรณข้อที่ 7 ต้องอบรมสั่งสอนศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ จรรยาบรรณข้อที่ 8 เอื้ออาทร ช่วยเหลือ เกื้อกูลและรักสามัคคีในองค์กร จรรยาบรรณข้อที่ 9 รักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรวิชาชีพ จรรยาบรรณข้อที่ 10 เป็นแบบอย่างของผู้อนุรักษ์พัฒนาและส่งเสริมเอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมไทย จรรยาบรรณข้อที่ 11 เป็นผู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง |
คุณธรรม จริยธรรมนักศึกษา |
สุภาพ สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยา มารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ผู้ ที่มีความสุภาพ คือผู้ที่ อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพ และกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจา และท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกัน ยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตน เหมาะสม ตามวัฒนธรรมไทย สามัคคี สามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียว กัน ความปรองดองกันร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผล ตามที่ต้องการเกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ปราศจาก การทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับ ความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทาง ความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลม เกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า ความสมานฉันท์ ผู้ ที่ความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความ คิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและ ผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันเพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัด ความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่าง หลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะ ปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีน้ำใจ มี น้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่ ตัวเองหรือเรื่องของตนเอง แต่เห็นอกเห็น ใจเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้อ อาทร เอาใจใส่ให้ความสนใจในความ ต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของ ผู้อื่นและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อ กูลกันและกัน ผู้ ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และอาสาช่วย เหลือสังคมรู้จักแบ่งปันเสียสละความสุข ส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เข้าใจ เห็นใจผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือ สังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือ ปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วม สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน |